เรื่องของ Tiger I 1:16

          สวัสดีครับ เพื่อนๆสหายชาว MODELLER ทั้งหลาย ผมนายโชคชัย (ป๋วย) 
และสหาย นายสมเกียรติ ขอทักทายเพื่อนๆผ่านทาง MODEL MANIAC โดยคุณ
พี่ไพศาล เจ้าของ WEB (และ MODEL จำนวนมโหฬารมหาศาล) ก็ขอขอบคุณพี่
ไพศาลที่ให้โอกาสพวกเรานำ MODEL มานำเสนอแบ่งๆกันชม

          ก่อนเริ่มต้นต้องขอบอกซักนิดนะครับ พวกเรานั้นไม่ใช่ MODELER มือ
ฉกาจอย่างที่กล่าวนำใน PAGE II เป็นเพียงนักต่อ MODEL มือสมัครเล่นที่มี
ความสนใจในงานนี้อย่างมากมายมหาศาลเท่านั้น

           ก็ขอเริ่มเรื่องราวของเจ้าเสือโคร่งเหล็กกล้าแห่งอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ของท่าน
ผู้นำหนวดจิ๋มเลยนะครับ เพื่อไม่ให้เปลืองที่

           ตอนแรกที่ผมเห็นเจ้าไทเกอร์ วัน (ไม่ใช่ WOOD) ตัวนี้มาจำหน่าย แหม ! 
มันช่างเปรี้ยวปากโดนใจอะไรเช่นนี้ แต่ราคาของมันพอจะให้ต้องหักห้ามใจบ้าง
แหละ แต่เผอิญผมได้ยินมาว่ามีร้าน DEALER ให้ส่วนลด 20 % ออกมาก็ 26,000 
กว่าๆ ก็เลยกัดฟันเก็บเงิน (พร้อม ADVANCE BONUS แบบไม่เสียดอก) มาถอย
เจ้าเสือตัวนี้ออกมาจากชั้นวาง ราคามันใช่หยอกที่ไหนล่ะ ซื้อ ฮ.น้ำมันได้ครบชุด
เชียวนา หรือไปเยี่ยม " POSEIDON" (ทั้งธรรมดาและ SIDE LINE )ได้เป็นสิบรอบ 
แต่เพื่อความสุขทางใจก็เลยต้องลากมันลงมาจากชั้นวาง 

           เมื่อได้มาแล้ว ก็วางแผนทำกันเลยโดยไม่มีการดองเค็ม เหมือน KIT กล่อง
อื่นๆ ในตู้ เพราะอุปกรณ์มันดูท่าทางจะอ่อนไหวต่อโลกภายนอก (กล่อง) เก็บไว้
นานจะเสียของ และอีกอย่างผมได้เห็นพี่ชาวโมคนหนึ่งเอาตัวที่ประกอบเสร็จมา
วิ่งโชว์ - - - - - โอ้โฮ - - - - - ทั้งเสียงทั้งหุ่นโดนใจเต็มๆ งานนี้ช้าไม่ได้แล้ว

           ผมเป็นคนชอบทำ ZIMMERIT ให้ ก.เยอรมันอยู่แล้ว เพราะดูแล้วเก๋าดี 
(แต่โล่งๆสีเทาก็ดันชอบ) แต่พอมาดูในหนังสืออ้างอิงส่วนใหญ่แล้วเจ้า ไทเกอร์ รุ่น
EARLY PRODUCTION จะไม่ค่อยเห็นทำ ZIM ที่ว่า แต่ความอยากทำ ก็เลยทำ
ให้คิดเลยเถิดไปถึงการดัดแปลงเป็นรุ่น MID PRODUCTION (ไม่ใช่ LATE นะ
ครับ) ก็คือต้องเปลี่ยน COMMANDER CUPOLA บนป้อมปืนใหม่ ,เปลี่ยน
ตำแหน่ง ตัวระบายอากาศและเพิ่มช่องมองหน้า LOADER HATCH พร้อมทั้งต้อง
ทำฝาครอบท่อดูดอากาศเข้าเครื่อง เพราะรุ่น MID ไม่มีต่อกรองต่อมาจากส่วน
ท้าย (? รึปล่าว?) ทั้งยังต้องเปลี่ยนดุมล้อของล้อขับสายพาน เปลี่ยนตำแหน่งไฟ
หน้าจาก 2 เหลือตรงกลางแค่ 1 เดี๋ยว - - - - - ช้าก่อนสู เพิ่มตาข่าย (ตะแกรง)กัน
สิ่งแปลกปลอมเข้าหม้อน้ำ บนห้องเครื่องด้วยนะจ๊ะ นอกนั้นนึกไม่ออก คงหมด
แล้วมั้ง ?  ก่อนเริ่มทำตามคู่มือ ผมก็ใช้เวลาว่างหลังเลิกงาน ทำ ZIM ไปทีละส่วน 
ขั้นตอนในการทำนี้ขอฉายซ้ำให้เพื่อนๆดูอีกทีนะครับ เผื่อผู้ใดจะนำเอาไปใช้บ้าง 
ส่วนใหญ่ MODELER จะใช้ PUTTY ทั้งหลายมาทำ ZIM ทั้ง EPOXY PUTTY, 
MODEL PUTTY หรือสีโป๊วรถยนต์ แต่ของผมใช้ " WALL PUTTY" ครับ เพราะผม
รู้สึกว่า เจ้า PUTTY ทั้งหมดนั้นมีส่วนผสมของทินเนอร์ ซึ่งมีกลิ่นแรงมาก และ
เหนียวหนับ แห้งทีก็แข็งโป๊ก บางทีผสมไม่ดีก็ไม่แห้ง เป็นที่น่าปวดหัวซะทีเดียว
เชียว

           เผอิญผมไปเห็นช่างทำฝ้าเขาใช้ (ควัก) อะไรบางอย่างสีขาวๆมาป้ายรอย
ต่อของฝ้าฉาบเรียบ มันคล้ายๆปูนขาว ก็เลยขอน้าเขาดูกระป๋อง ปรากฎว่าเป็น
วัสดุที่ใช้อุดรอยต่อที่ว่ามีความหนืดยึดเกาะพอเหมาะ คล้ายๆครีม ที่สำคัญคือ 
ไม่มีกลิ่นฉุนแทงไซนัสอย่าง PUTTY มีเพียงกลิ่นคล้ายปูนขาวจางๆ ก็เลยลองซื้อ
มาใช้ดู - - - - -ใช้ได้ทีเดียวแฮะ แถมจุดไหนเสียก็ปาดออกแล้วเอาน้ำลูบง่ายแสน
ง่าย เหลืออย่างเดียวก็คือ ความทนทานตอนแห้งแล้วผมก็ได้พบว่า (โอ้) ขนาดเอา
CUTTER แซะยังไม่ค่อยจะออกเลยครับท่าน เวลา SET ตัวก็ไม่นานมาก ทิ้งไว้ซัก 
10 นาที ก็แห้งหมาดๆแล้ว ส่วนรอยริ้วๆของ ZIM นั้น ผมใช้ใบเลื่อยมือแบบ
ละเอียด (24ฟัน) มาหักเป็นท่อนๆ ยาวบ้าง สั้นบ้าง แล้วแต่พื้นที่ ที่จะรูดผ่าน ตอน
หักนี้ต้องระวังหน่อยละครับ เศษปลิวนี่เจ็บใช่เล่นนา เข้าตาก็ปักเลือดสาดละครับ
สหาย ส่วน SCALE 1/35 ก็ใช้ใบเลื่อยที่ละเอียดลงไปอีก (ถ้าไม่อยากเสียตัว ซื้อ
แผ่นปาดสำเร็จรูป) บางครั้ง (บ่อยครั้ง) ผมใช้ใบฟันเลื่อยของ WRAP พลาสติกห่อ
อาหารของยี่ห้อ GLAD WRAP หรือไม่ก็ใบเลื่อยฉลุ (แต่มันเล็กมักจะมีเศษที่รูด
ของ WALL PUTTY ล้นปลิ้นมาทับรอยที่รูดไปแล้ว)

           ก็ทำไปเรื่อยๆ วันละ 2 ช.ม. - 5 ช.ม. แล้วแต่อารมณ์และความง่วง (+ดีกรี) 
พอเสร็จแล้วปุ๊บ ก็มาเริ่มประกอบตามขั้นตอนในคู่มือ ซึ่งไม่มีอะไรมาก ก็ขอกล่าว
ย่อๆ โดยจาก 1 - 7 นั้น ไม่มีปัญหา ยกเว้น STEP 6 นี้ กว่าจะประกอบใส่ 
TORSION BAR ครบก็เล่นเอาเจ็บนิ้ว ส่วน STEP 7 ผมไม่ประกอบสายพาน
อะไหล่ด้านหน้า เพราะของ MID PRODUCTION มันไม่ค่อยเห็นมีและจะโชว์รอย
โดนยิง ZIM กระจุยด้วย ส่วนที่สำคัญ คือ STEP 8 นี่แหละครับ ไอ้สกรูหนอน 
(GRUB SCREW) ที่เขาเน้นให้ขันแน่นๆ นี่นะยังไม่พอครับ ของผมมันคลายออก
ตั้ง 2 ครั้ง 2 ครา ต้องรื้อกันซะหายอยาก (กลัวแผ่นเกราะด้านหน้ามันจะหักซะ
ก่อน) ไอ้สกรูตรงนี้ผมขอแนะนำให้ใช้ "กาวกันคลาย" ตัวสีฟ้าๆแถมมานั่นล่ะครับ 
หยอดอัดตามฟันเกลียวซะหน่อย แล้วขันให้ตึงๆซักหน่อย จะป้องกัน (คาดว่า) 
ปัญหาเล่นๆวิ่งๆไปแล้ว สกรูคลายตัวออก ผลที่ได้จะเหมือนระบบควบคุมมีปัญหา
ก็คือ หันซ้าย เลี้ยวขวา ไม่ค่อยดี บางทีก็จะวิ่งเป๋ๆ (เพราะล้อหมุนด้วยรอบ
ความเร็วต่างกันตอนสกรูกำลังจะหลุด) ผ่านขั้นตอนนี้ก็ยาวมาถึง ล้อรองรับ (และ
กด) สายพาน ผมใช้วิธีพ่นสี ENAMEL ของ TAMIYA ผสม HUMBROL จางๆ
เกือบใสเป็นน้ำ โดยมีสี  DARK YELLOW และสีเขียวๆ น้ำตาลๆ เบอร์อะไรจำมิ
ได้แล้วแหละ มาพ่นสาดๆที่ยางหุ้มขอบล้อ (โดยยังไม่ต้องดึงแกนวงในออกมา จะ
ได้มีที่จับสะดวกๆ) พอเสร็จสีเหลืองก็ผสมสีสนิมของ GUNZE (ที่มาเป็น SET แต่ง
เก่า) พร้อมทั้งเติมสี ACRYLIC สีทรายเข้าไปอีก อ้อ! มันจะเข้ากันเหรอ? ก็ไม่เข้าซี
ครับ ผมต้องการอย่างนั้น เพราะไม่ต้องการให้สีมันผสมเข้ากันอยู่แล้ว เวลาพ่น
ออกมาบนตีนตะขาบ มันจะแบ่งแยกกันเอง ทับกันไปทับกันมาโดยให้สีทราย-ลูก
รังแดงๆมาอุดอยู่ตามซอก พอแห้งหมาดๆก็เอาผ้าลูบ (รูด) ยาวทั้งเส้นก็จะได้สี
เหล็กโชว์ตรงจุดที่สัมผัสพื้น ส่วนสนิม + ฝุ่นดิน จะคาเกาะอยู่ในซอก ด้วยความ
จางของสี จะทำให้มีสีพื้นของตีนตะขาบแพลมออกมาหน่อยๆ อันนี้ไม่ทราบว่าจะ
ดูเหมือนขนาดไหน เพราะผมก็ว่ามันยังดูไม่ค่อยใช่เท่าไรนัก แต่เวลาไปวิ่งจริง 
เดี๋ยวก็คงโสโครกเองโดยไม่ต้องแต่ง (ขี้คร้านจะเอาผ้าชุบน้ำมาเช็คให้สะอาด ก็
แปลก ทีตั้งโชว์ก็ทำเขรอะๆ ส่วนล้อจำนวนมากนั้นผมพ่นสี DARK YELLOW พ่น
สาดๆให้เห็นมีเงาเข้มๆใช้ประโยชน์จากสีพื้นที่เป็นสีเทาเข้ม แล้วจึงแยกล้อที่โชว์
เห็นชัดๆมาทำสีและรอย "ลุย" เพื่อประหยัดเวลาเพราะพวกล้อที่ซ่อนอยู่ด้านในมัน
มองไม่เห็นอยู่แล้ว เอาแค่สีพื้นสาดๆก็พอ เวลาประกอบล้อก็อย่าข้ามขั้นตอน
ต่างๆ เช่น จุดหล่อลื่นต้องทาจารบี ก็จัดแจงทาซะ มิฉะนั้นเวลาวิ่งๆไปซักพักจะ
เห็นผลของความขี้เกียจ อ้อ, ระวังพวกปลอกบุชทองเหลืองด้วยนะขอรับ เพราะมี
จำนวนจำกัด พอดีเป๊ะๆ ขี้เหนียวจริงๆเนาะ เสร็จจากขั้นตอนประกอบล้อจะพัก
ก่อนก็ได้นะครับ ให้สายตาและมือคลายความเมื่อยล้า ซดเบียร์เย็นๆ ซักขวดก่อนก็
ไม่ว่ากัน (เข้าบรรยากาศรถถังของชาวด๊อยช์ท) 

           เสร็จแล้วต่อ STEP 13 ประกอบล้อต่างๆเข้าที่ อันนี้คุณไก่เค้าแมว 13 เคย
พูดถึงใน M-CLUB แล้วว่าไว้เจ้าตัวหนอนน้อยๆ ที่ยึดแกนล้อเข้ากับแขน 
TORSION BAR บางรูทางโรงงาน TAMIYA ต๊าปมาไม่ดี เกลียวบางเกลียวจะ
ค่อนข้างฝืด ขันลำบาก เพราะสกรูขนาด M3 มันเล็กมาก หาซื้อยากอีกถ้าหาย แต่
อันนี้มีอะไหล่เผื่อมาหน่อย ส่วนล้อขับสายพาน และล้อปรับด้านหลังนั้น ควรจะ
พ่นสีรองพื้นโลหะก่อน เพราะเป็นชิ้นส่วนอลูมิเนียมฉีด (HIGH-PRESSURE DIE-
CAST) สีจะได้ไม่หลุด แต่ของผมพอดีที่โรงงานที่ทำงานอยู่มีบ่อล้าง-เตรียมผิว 
ออกมาพ่นสีกันเซ่แล้ว พอแห้งสนิทเอาเล็บขูดยังไม่หลุดเลยครับ

           ขั้นตอนต่อมาและต่อมาก็ทำตามคู่มือไปเรื่อยๆใน STEP 18 & 19 ผมข้าม
ทำตัว AIR FILTER ไปเพราะรุ่น MID ไม่มีตัวนี้ คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนที่ 
MODELER ที่ไม่เคยเล่น R/C จะหนาวๆร้อนๆแล้วละครับ แต่ผมได้ที่ปรึกษาดีเลย
รอดตัวไป ตามมาครับสหายทั้งหลาย

ขั้นตอนเตรียมอุปกรณ์ R/C :
คุณต้องมีอุปกรณ์ดังนี้ ;

1. วิทยุบังคับ 4 ชาแนล ของถูกๆก็ได้ ผมใช้ SKY SPORT ของ FUTABA แต่ 
MADE IN TAIWAN ราคารวม RECEIVER และ SERVO 4 ตัว (หรือ 3? จำไม่
ได้) ประมาณไม่เกิน 4,000 บาท (ซื้อถ่านรีชาร์จและตัวชาร์จต่างหาก) แบต 
7.2 V.

2. สำหรับอุปกรณ์ R/C รีชาร์จได้ 2 ชุด ผมซื้อชุดละ 1,200 บาท พร้อมตัวชาร์จ
ราคาจำไม่ได้แล้วครับ ของ MADE IN THAILAND อ้อ ของผมเป็นขนาด 1700 
มิลลิแอมป์ เล่นได้ (หนักๆ) ซัก 20 นาที พอได้อุปกรณ์ครบถ้วนก็จัดแจงต่อวง
จรตามคู่มือเลยครับไม่ต้องกลัวมันช๊อตเจ๊ง ถ้าทำตามเขาก็ไม่มีปัญหา ส่วนรัง
ถ่านที่ต้องต่อเข้ากับตัว RECEIVER นั้นโยนทิ้งไปเลยครับ เพราะชุดนี้จะมีไฟ
ต่อมา เลี้ยงตัวภาครับอยู่แล้ว และแล้วก็มาถึงขั้นตอนตื่นเต้ล - - - - OH- -
YEAH.   

           เอ้าต่อ, พอต่อวงจรเสร็จปุ๊ป ก็ชักเสาเปิดสวิทช์ตัวส่ง (ก็คือวิทยุนั่นแหละ)
จากนั้นก็เอื้อมมืออันสั่นเทาและชุ่มไปด้วยเหงื่อ (แบบว่าลุ้นง่ะ) มาเปิดสวิทช์ของ
ตัวรับ จะลุ้นว่าต่อผิดต่อถูกเจ๊งไม่เจ๊งก็ตอนนี้แหละครับ พอเปิดปุ๊บ OH!! เสียง
เครื่องยนต์เมย์บัค 12 สูบเริ่มสตาร์ทดังวี๊ด--------  และชึ่ง (เคยได้ยินเสียงสิบล้อ
สตาร์ทเครื่องไหมล่ะครับ คล้ายๆแต่แน่นกว่า) สมกับที่ลงทุนไปอัดเสียงจริงที่ฝรั่ง
เศสเลย (แต่จริงๆเป็นของ KING TIGER แต่ใครจะสน?) พอเร่งเครื่อง (คันโยก
ซ้ายดันขึ้น) ก็จะมีเสียงคำรามถี่ๆดังขึ้น รอบเครื่องจัดขึ้นจัดขึ้น แถมโยกคันโยก
ขวาขึ้นเร็วๆ (พร้อมทริมขวาขึ้นสุด) ก็จะได้ยินเสียงปืนใหญ่ขนาด 88 ม.ม. ดัง
กระหึ่ม แต่เสียอย่างเสียงปืนกล ยังกะซาวด์แทร็คจากหนังฮ่องกง หรือฮอลลีวู้ดรุ่น
ปู่คลิ้นท์ยังหนุ่มตอนแรกผมกะได้ยินเสียงปืนกลแบบใน "SAVING PRIVATE 
RYAN" เซี้ยะอีก

           อุปกรณ์ R/C ทั้งหลายเหล่านี้ผมเอาลงติดตั้งหลังจากทำสีเสร็จแล้วเพื่อ
ความสะดวก เพราะขืนติดลงไปครบจะเกิด ;
1. หนัก พ่นลำบาก
2.  ต้องมาคอยบังสีไม่ให้โดนอุปกรณ์ต่างๆ

           ตอนติดตั้งก็ไม่มีอะไรมา ตามคู่มือ แต่ต้องจัดสายไฟต่างๆให้ดีนะครับ ไม่
งั้นจะพันกัน (ยุ่งตายห่ะ) แต่ตรงเจ้าสวิทช์นี่สิ มันต้องยกป้อมออกเวลาเปิด-ปิด 
ผมดูแล้วเจ๊าะแจ๊ะยุ่งยาก และไม่ค่อยสะดวก พอดีเห็นสายไฟมันให้มายาวก็เลย
เอามาวางตรงช่องพลขับ เวลาจะเปิด-ปิดก็แค่ยกฝาครอบเปิดออกไม่ต้องติดกาว
นะครับ ผมใช้ "หมากฝรั่งศิลปิน" (ARTIST GUM) หรือ "BLUE TAC" ติดเอา อ้อ, 
ใช้ตรงดุมครอบฝาล้อขับสายพานด้วยนะครับ เพราะตรงนั้นมีจุดไขสกรู เวลาต้อง
ถอดล้อออกเพื่อการซ่อมบำรุง (อย่างที่ผมต้องรื้อมันออกตอนเจ้าสกรูตัวหนอนใน 
STEP 8 คลายตัวออกไง)

           ส่วนสายอากาศนั้น ถ้าทำตามคู่มือโดยพันเข้ากับเสาอากาศ มันจะดูยัง
ไงๆอยู่นา ทางด้านที่ปรึกษา (อ.เบ๊นซ์ แห่งสนามบินเล็กหลังโลตัส ริมทางด่วน 
เอกมัย-รามอินทรา) แนะนำว่าเอามันหลบในก็ได้ เพราะรถถังนี่มันอยู่บนพื้นระยะ
การบังคับก็ใกล้ๆ ไม่จำเป็นต้องเอาออกมานอกตัวถัง ก็สามารถรับคลื่นได้ดี ผมก็
เลยเอาสายอากาศมาวนรอบตัวรถโดยใช้ BLUE TAC แปะ ก็ไม่มีปัญหาโผล่แต่
เสาอากาศออกเท่านั้น เพื่อความสมจริง แล้วยังสามารถเอา "จุ๊บ" โคนเสาใส่ได้
ด้วย ก็ต้องขอขอบคุณ อ.เบ๊นซ์ และเพื่อนๆ พี่ๆ ที่แนะนำในด้านอุปกรณ์ R/C มา 
ณ.ที่นี้ด้วยครับ

           ขั้นตอนต่อมาก็คือ ติดตั้งชิ้นส่วนต่างๆเข้ากับตัวถัง และแผ่นปิดบนตัวถัง 
ตามขั้นตอนเลยครับ อุปกรณ์บนตัวรถ ผมติดหลังจากทำสีเรียบร้อยแล้ว มาถึง
ด้านท้ายของห้องเครื่องบ้าง ส่วนใหญ่ ถ.เยอรมันจะมีสกรีนกันเศษอะไรต่อมิอะไร
หล่นลงมาอุดช่องระบายอากาศ ซึ่งสกรีนนี้ผมทำจาก ตาข่ายกันยุงจากมุ้งลวด
เก่าๆ หาได้จากร้านขายมุ้งลวดทั่วไป ในกรณีของผม เผอิญเจอกรอบอลูมิเนียมมี
มุ้งลวดหล่นแถวๆโรงงานอยู่ พอเอามาเทียบสเกลดูแล้ว เออ- - -พอใช้ได้เลยจัด
การตัดออกมาตามขนาดช่องบนห้องเครื่องซะ มีอยู่ 4 ช่อง ยึดด้วยกาวช้างแล้วจึง
ทำขอบจากการตัดไม้โปรอันละ 2 บาท มาติดเพิ่มส่วนที่มี CURVE ก็ใช้ 
TEMPLATE วัดขนาดและร่างแบบตัววงกลมตามนั้น แล้วแปะด้วยกาวช้างเป็นอัน
เสร็จขั้นตอน

           จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนต่อไป ก็มีทำภายในตัวป้อมประกอบปืนใหญ่ ใส่
สายแฟลชด้วย เมื่อเรียบร้อยก็นำมาประกอบเข้าด้วยกัน มีข้อควรระวังคือขั้นตอน 
35,36 เวลาติดตั้งปืนใหญ่เข้ากับโล่ห์หน้าป้อมซึ่งต้องประกอบเข้ากับชุด RECOIL
ด้วย ระวังเป็นพิเศษ เวลาติดปืนใหญ่ ต้องดูว่ามันอยู่ในตำแหน่ง ยืดออกมาสุด
หรือไม่ อันนี้ผมพลาด โดยที่ไม่ได้ลองเดินสายไฟเพื่อลองชุด RECOIL ดู พอตอน
พ่นสีเสร็จ ปรากฎว่าปืนใหญ่ที่คิดว่ากระบอกมันยื่นมาสุดนั้น ยังไม่สุดครับ มันดัน
ยืดออกมาอีก ทำให้บริเวณที่หลบในไม่โดนสี! โชคดีที่มีสีเหลือ จึงทำการพ่นใหม่
โดยไม่ยากเย็นนัก แต่ก็เสียอารมณ์ พอดู

           ขั้นตอนต่อมา คือ ฝาบนป้อมปืนที่ผมเกริ่นไว้ตอนแรกว่าจะดัดแปลงเป็น 
MID PRODUCTION ขั้นตอนก็มี ;

1. ทำ COMMANDER CUPOLA ใหม่โดยการกลึงอลูมิเนียมเป็นรูปทรงของรุ่น 
MID และทำฝาปิดด้วย เสร็จเรียบร้อยจึงนำเอาแผ่นทองแดงมาดัดเป็นช่วง มอง
รอบๆมี 7 ชิ้นด้วยกัน เท่ากันบ้างไม่เท่าบ้างเพราะมันรีบๆ เลยไม่ค่อยมาร์คละ
เอียด ทั้งๆที่เตรียม เวอร์เนีย มา กะจะวัดให้เป๊ะ ผิดเป็นไมครอน แต่ความขี้เกียจ
มันเยอะ เลยปล่อยเลยตามเลย ส่วนฝาปิดทรงกลมรูปโคมแบนๆ จะต้องมีแขนต่อ
ออกมา อันนี้ก็ได้สหาย สมเกียรติมาช่วย (จริงๆช่วยหลายจุด) ก้ามจับด้านบนก็
เป็นลวดทองแดงดัดซะ

2. เพิ่มช่วงมองหน้า LOADER HATCH โดยใช้แผ่นทองแดงอีกเช่นกันมาตัดและ
ดัด พร้อมตัดเส้นพลาสติกมาลงสีดำ และติดเข้าไปข้างใน มัจะได้ดูไม่โล่ง เพราะ
ของจริงเป็นช่องกล้องเพอริสโคป

3. ย้ายตัว FILTER จากด้านหลังมาอยู่ติดๆกับ COMMANDER CUPOLA

4. อย่าลืมตัดช่องเสียบของตัวยิง "S-MINE" ด้วยนะครับ ขัดให้เรียบและทำรอย
เชื่อมใหม่ โดยการใช้กาวน้ำทาให้ชุ่มๆ และใช้ CUTTER ปลายทื่อๆ ขีดๆ ให้
เหมือนรอยเดิม ตรงนี้ใช้ทำ (ซ่อม) รอยตรงจุดที่ตัด FILTER และวงแหวนรับ 
CUPOLA เก่าออกด้วย

           ส่วนตรงกล่องสัมภาระ ด้านท้ายผมเพิ่มเติมรายละเอียดของแผ่นหูปิดล๊อค
และห่วงล๊อคโดยใช้แผ่นพลาสติกรองก่อน และใช้เส้นพลาสติกตัว C-COLUMN 
ของ PLASTRUCT มาตัดเพราะไม่ต้องมานั่งพับขอบ 2 ด้าน ขึ้นเสร็จแล้วก็เจาะ
เป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลาง (รูลอดห่วงล๊อค) แล้วจึงเอาทองแดงเส้นมางอ
เป็นตัว U แลวติดโช๊ะเข้าไปด้วยกาวช้าง อย่าลืมก่อนติดควรเอาอะไรแหลมๆ มา
จิ้มให้เป็นรูเล็กๆก่อน จะได้ติดอยู่แน่นๆ ไม่หลุดง่าย

           โอ้ - - - -ลืมบอก ตรงรอยเชื่อมรอบๆ CUPOLA, AIR FILTER และช่อง
มอง ตอนแรกผมใช้พลาสติกยึด แล้วตัดแปะตรงที่ต้องการทำเป็นรอยเชื่อม โปะ
กาวน้ำให้ชุ่มๆ รอจนมันละลายแล้วใช้ปลาย CUTTER บิ่นๆหักๆจิ้มๆๆ จนดู
เหมือนรอยเชื่อม แต่ช้าก่อน กว่าเส้นพลาสติกจะละลาย มันช้า และเซ็งสิ้นดี พอดี
ผมเห็นปลายหลอดกาวช้างที่เป็นตัวต่อปากจู๋ๆ แหลมๆสำหรับบีบเข้าจุดเล็กๆ 
แถมมีขั้วเกลียวด้วย เลยลองหมุนเข้ากับปากหลอด PUTTY ดู บ๊ะ! เข้ากันได้ ถึง
ไม่พอดีเป๊ะ แต่ก็พอได้ เลยบีบหลอด PUTTY ซ้ำ มันก็ไหลออกมาจากเจ้าปาก
หลอดต่อ จู๋ๆนั่นแหละเหมือนเวลาสั่ง BIRTHDAY CAKE ที่เขามีที่บีบครีมเขียน
เป็นตัวอักษรไงครับ คราวนี้ก็แจ๋ว ผมเลยบีบออกมารอบๆจุดที่จะทำเป็นรอยเชื่อม 
คุณจะได้เส้น PUTTY ที่เล็กและควบคุมได้ (ในระยะหนึ่ง) แต่พอมันแข็งตัวก็ต้อง
โยนหลอดปากจู๋นี่ทิ้งละครับ แต่ก็คุ้มซุปเปอร์คุ้ม เทียบกับงานรอยเชื่อมที่ได้มา 
เอ้าต่อ- - -พอบีบเสร็จก็รอมันแห้งหมาดๆ แล้วค่อยจิ้มๆตามใจท่านสุดแท้แต่
จินตนาการอันบรรเจิดของแต่ละท่าน ให้มันเป็นดูคล้ายรอยเชื่อมโลหะ

           อีกอย่างครับเกือบลืม ไอ้ตรง CUPOLA กับฝาปิดนี้ ต้องทำผิวให้แลดู
คล้ายเหล็กหล่อทรายแบบหยาบๆ ด้วยการนำ PUTTY มาละลายทินเนอร์แล้วใช้
พู่กันทาโปะๆบนทั้ง 2 ชิ้น พอมันเริ่มหมาดๆ ผมก็ใช้แปรงทองเหลือง แตะๆทิ่มๆ
เบาๆ พอแห้งก็จะได้อะรที่ดูคล้ายผิวเหล็กหล่อ

           เสร็จแล้วก็มาถึงขั้นตอนที่รอคอยมาถึงแล้ว เย้- - - -มันคือขั้นตอนพ่นสี ลง
ลายให้เจ้าเสือโคร่งเมืองเบียร์ซะที (จริงๆผมทำไปก่อนติดตั้งอุปกรณ์แล้ว) สีพื้นก็
คือ DARK YELLOW ตามระเบียบ โปรดอย่าถามว่าสีอะไร เพราะผมผสมเองจาก
สีกันเซ่ เพราะ DARK  YELLOW หมดก็ใช้เหลืองเยอะหน่อย + ขาวนิด (15%) + 
ดำหน่อย (5% มั๊ง?) และน้ำเงินก็ผสมหลายทีเหมือนกัน เพราะผมใช้สายตาเทียบ
ให้ใกล้เคียงเท่านั้น พอสาดสีพื้นเสร็จก็ต่อด้วยสีน้ำตาลแดงและ DARK GREEN 
เยอรมัน จำเบอร์ไม่ได้ เสร็จแล้วก็ดูสะอาดสะอ้านดี คราวนี้ก็มาถึงการทำให้เป็นเสือ
มอมไม่ได้ เพราะผมทำรอยโดนยิง, รอยลุย, รอยบิดงอรอบคัน โดยใช้ความร้อน
จากรูป + เทียนวันเกิด (เล็กดี) และสารพัดเหล็กปลายคมๆ เช่น ดอกสว่าน ปลาย
คีม และเหล็กแท่ง ตีๆทุบๆลนๆดัดๆ จนสาแก่ใจซาดิสม์

           ขั้นตอนทำเก่า นายสมเกียรติ ขอรับอาสา เพราะคันไม้คันมือมานาน (คัน
ตามเนื้อตัวด้วย ยุงลายเยอะ เพราะทำกลางคืน สุดสัปดาห์ซะเป็นส่วนใหญ่) ผม
เห็นเขาผสมสีอย่างดุเดือด เอาสีต่างๆมายำขยำรวมกันแล้ว เติมสีแก่ลงไปหน่อย
แล้วจึงผสมบางมากๆ (หนามากเดี๋ยวเมาเร็ว) มาใส่ "ภู่กันลม"  แล้วพ่นสเปรย์
บางๆคลุมรอบคัน พอให้โทนสีต่างๆผสมกลมกลืนเข้ากันดีแล้ว (จากเดิมสีสันสด
ใสม๊าก) เพื่อนเลยผสมดำเข้าไปอีก คราวนี้ผสมหนา (เมาแย่) แล้วจัดแจงพ่นตาม
ซอกมุมต่างๆ เน้นเงาตามซอก พ่นๆจนผมตกใจว่าทำไมมันชักดำเป็นเสือดำ
เหมือนคนพ่นแล้ววะเนี่ย แล้วยังมีหน้าหันมายิ้มฟันขาวมาถามผมอีกว่า "เฮ้ย,ดำ
ไปรึปล่าววะ? ซะอีก แต่ยังดีที่พอเวลาทันแห้งแล้วค่อยดูไม่ค่อยดำเท่าไรนัก ไม่งั้น
คงได้พ่นกันใหม่ อาจจะได้เอาขวดเบียร์ตีหัวคนด้วย (กินไปซะเยอะตอนทำงาน)

           ยังครับ ยังไม่สะใจเขาผู้นั้น ยังใช้สี WINSOR เบอร์ยอดฮิต 35 RAW 
UMBER ผสม แดง + เหลือง ให้ดูเหมือนสีรถถัง (เขาว่ามันจะได้ไม่โดด) มา
ละเลงลงบนตัวรถทั้งคันแล้วจึงผิวปากจู๋ๆ ค่อยๆเช็ดออกอย่างสบายใจ โดยมีผมดู
ด้วยความสยดสยอง

          พอเช็ดเสร็จ เออ! มันก็ดูดีนี่หว่า อย่ากระนั้นเลย จงใส่ HIGH LIGHT เข้า
ไปอีกเพื่อดึงรายละเอียดออกมา พ่อหนุ่มคนนั้นก็ไม่รอช้า ผสมสี WINSOR เน้น
ขาวเป็นหลัก ถูๆป้ายๆ เข้าให้ บ๊ะ ดูดีขึ้นเป็นกองทัพเชียวนา พอเพ้นท์กันจนสาแก่
ใจอีกรอบก็รอมันแห้ง 1 อาทิตย์ คือทิ้งไว้ เพราะไม่มีเวลามาพ่นเคลียร์ เสร็จแล้วก็
พ่นเคลียร์มัน 1 ชั้น ติดสติกเกอร์แล้วพ่นทับอีก 1 ชั้น แต่งเก่าให้สติกเกอร์ แล้วจึง
พ่นด้านของ TOA LACQUER ผสมแมงมุมขยุ้มแกลลอนให้ด้านสนิทอีกรอบ สอง
รอบ อย่าลืม! ก่อนพ่นเคลียร์ต้องติดอุปกรณ์เข้าไปทุกชิ้นจนครบก่อน จะได้ไม่ต้อง
ซ้ำหลายรอบ ต่อมาก็ใช้สีชอลก์มาป้ายๆ โดยใช้สีดำ + น้ำตาล มาปัดแถวๆท่อไอ
เสีย, บนห้องเครื่อง,ปากกระบอกปืนใหญ่ และช่องปืนกลร่วมแกนข้างขวาของปืน
ใหญ่ อ้อ สนิมตรงฝาครอบท่อไอเสีย ที่โดนปืนกลยิงก็ใช้สีน้ำตาลเยอะหน่อยป้าย
เป็นทางลงมา

           ส่วนฟิกเกอร์ที่ให้มาก็ทำได้ดี แต่ผมไม่มีความสามารถในการเพ้นท์ก็เลย
โยนให้นายสมเกียรติ อีกชิ้นไม่ผิดหวังครับ ทำได้ดีพอใช้ทีเดียว (เพราะผมเพ้นท์ไม่
เป็น) ใช้สี WINSOR ทั้งตัวอีกเช่นกัน ส่วนเครื่องหมายใช้สีเงินผสมขาวหน่อยๆทา
ตามเครื่องหมายต่างๆ ยกเว้นสีเงินของกางเขนเหล็ก นั่นไม่ผสมขาว เสร็จแล้วก็
แปะลงบนป้อมโดยใช้ BLUE TAC อีกเช่นกัน เพราะไม่อยากติดกาว เดี๋ยวมีอะไร
มาโดนจะเสียหายไปกันใหญ่

           คราวนี้ก็มาถึงเวลาลองละครับ ผมนำติดตัวไปที่ทำงานด้วย (ทำยังกับพก
มือถือ) รอบๆโรงงานเป็นทุ่งนากับบ่อกุ้ง มีเนินลูกรังเพียบ หญ้าก็เยอะ แต่โน 
พรอมแพรมครับ MOTOR HI-TORQUE 2 ตัวที่ใช้ขับเคลื่อน มันมีพลังเหลือเฟือ 
หญ้าฟางแห้ง วัชพืชต่างๆถูกถอนเรียบตามทางที่มันวิ่งผ่าน แม้แต่เนินชันกว่า 45 
องศา ก็ไม่มีปัญหาสำหรับเจ้าเสือโคร่ง จำลอง 1/16 คันนี้ ตลอดเวลาที่มันเคลื่อน
ที่ผ่านภูมิประเทศระบบ TORSION BAR ก็ทำงานขยับขึ้นๆลงๆ อย่างสมจริงเป็น
ที่สุด จน ZIM ที่ทำไว้บางจุกกระเทาะออกมาจริงๆ แต่นิดหน่อย ไม่เป็นจุดสังเกต
เท่าไรนัก ก็ไม่รู้ว่าจะมีใครเอามาแล่นลุยอย่างผมมั่งหรือเปล่า แต่ผมว่านี่คือสิ่งที่
ผมต้องการจะได้สัมผัสจากเจ้าไทเกอร์ จำลองคันนี้ ทั้งพลังขับเคลื่อน และพลัง
เสียงที่ก้องคำราม ดังเกินตัว แม๊- - - - ช่างได้อารมณ์และบรรยากาศอะไรเช่นนี้ 
พอ BATT หมด ก็พลบค่ำพอดี เลยได้เวลาเก็บเจ้าไทเกอร์น้อยเข้าห้อง อาบน้ำ
อาบท่า แล้วมานั่งล้อมวงกับพรรคพวกที่ได้เตรียมอุปกรณ์การบริโภคไว้เรียบร้อย 
แน่นอนครับ เจ้าไทเกอร์ตัวนี้ก็จะเป็นหัวข้อหลักในการสนทนาแกล้มน้ำในวง 
เพราะมีแต่คนสนใจ เพราะส่วนใหญ่จะไม่เคยรู้จักกับ MODEL มาก่อน และมี
ความอยากรู้อยากเห็นในงานอดิเรกนี้ ก็ยังคิดอยู่ล่ะครับว่าจะเสียสละซักกล่องให้
มือใหม่หัดต่อดูรึเปล่า

           พอมาถึงตอนนี้ก็รู้สึกว่าจะได้พล่ามอะไรมามากเกินพอแล้ว เกรงใจพี่
ไพศาลเจ้าของเว็บ ยังไงๆก็ตัดทอนตามความเหมาะสมนะครับ เพราะผมใช้เวลา
เขียนหลายวัน นึกอะไรออกก็พยายามจะถ่ายทอดออกมาผ่านตัวหนังสือ บอกเล่า
ประสบการณ์ (ที่ผู้อ่านทางบ้านส่งมา!?!) ให้เพื่อนๆชาว MODELER อ่านกัน ก็
ขออภัยนะครับที่มีน้ำมากไปนิดนึง ผมเองก็จับต้นเรียงปลายเรื่องราวไม่เก่งเท่าไร
นัก ถึงแม้ว่าไทเกอร์ 1/16 ตัวนี้จะไม่มีคนเล่นมากเท่าไรก็ตาม เพราะราคาสูงมาก 
แต่ผมก็อยากแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนๆทั้งหลาย เพื่อจะได้มี
ความหลากหลาย จะได้ไม่เบื่อ จริงไหมครับ?

           ขอขอบคุณ คุณพี่ไพศาลอีกครั้งที่เปิดโอกาสให้มือสมัครเล่นอย่างเรา มี
โอกาสมาจ้อบน WEB นี้ครับ แล้วเจอกันใหม่ครับเพื่อนๆ ถ้ามีโอกาส

โชคชัย & สมเกียรติ.

Back to Previous Page